Sunday, August 5, 2012

London 2012 Javelin กีฬาพุ่งแหลนในโอลิมปิก 2012

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manacomputers.com/london-2012-javelin/

London 2012 Javelin
-ช่วงนี้เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอน 2012 ทางมานาคอมพิวเตอร์ขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับกีฬาต่างๆ ซึ่งน่าสนใจ ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยผมจะขอนำเสนอกีฬา "พุ่งแหลน"  (London 2012 javelin) เป็นอันดันแรกก่อนนะครับ

สำหรับความคืบหน้าของการแข่งขันพุ่งแหลน (หญิง) ในโอลิมปิกครั้งนี้ (London 2012 Javelin) ติดตามได้ที่ช่องทางนี้ครับ Women's Javelin Throw - Olympic Athletics

ส่วนการพุ่งแหลน(ชาย) สามารถติดตามได้ในช่องทางนี้ครับ Men's Javelin Throw - Olympic Athletics

**นอก เรื่องนิดนึงครับ คำว่า Javelin นอกจากจะหมายถึงแหลน (หรือหอกที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ) ในมหกรรมโอลิมปิกครั้งนี้ คำนี้ก็หมายถึงรถไฟฟ้า Javelin ด้วยนะครับ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพุ่งแหลน (javelin)

โดย ความเชื่อของคนส่วนใหญ่เชื่อว่า "การใช้หอกหรือแหลนหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ในอดีต ปัจจุบันก็กลายมาเป็นกีฬาพุ่งแหลน"

สำหรับ สถิติโลกในการพุ่งแหลนได้ระยะไกลที่สุดนั้น ผู้ที่ทำได้คือ Barbora Spotakova จากสาธารณรัฐเช็ก ในปี 2008 โดยระยะทางที่ทำได้คือ 72.28 เมตรครับ

ส่วนสถิติในโอลิมปิก ผู้ที่ได้ได้คือ Osleidys Menendez จากประเทศคิวบา ในปี 2004 โดยสถิติที่ทำได้คือ 71.53 เมตรครับ

ท่าที่ใช้ในการพุ่งแหลนใน London 2012 Javelin

1) พื้นฐานการพุ่งแหลน
- เทคนิคการพุ่งแหลน ประกอบด้วบ วิ่งทำท่า 5 ก้าว พุ่ง และทรงตัว
- ท่า 5 ก้าวเริ่มด้วยเท้าขวาสัมผัสพื้น
2) ท่าวิ่ง
- ท่าวิ่ง 5 ก้าวเป็นสิ่งสำคัญที่กระทำต่อจากการวิ่งเพื่อทำความเร็วสู่ระดับที่เหมาะสมโดยวิ่งประมาณ 8 ก้าว
- ถือแหลนตามแนวนอนด้วยการงอแขนอยู่เ้หนือไหล่
3) ก้าว 1 ก้าว 2
- เมื่อวางเท้าขวา แขนขวาก็จะเริ่มเหยียดไปข้างหลังให้สูงกว่าระดับแนวไหล่ ฝ่ามือหงายขึ้น
- คงระดับความเร็วไว้
4) ก้าว 3
- หัวแหลนชิดศีรษะ
- ก้าว 3 เป็นก้าวเตรียมสำหรับไขวเ้เท้า
5) ก้าว 4 ไขว้เท้า
- ช่วงก้าวยาวกว่า ถีบส่งด้วยขาซ้าย เคลื่อนลอยไปอย่างราบเรียบ
- ขาขวาก้าวไขว้ขาซ้าย ก่อนวางเท้าขวาเท้าซ้ายจะอยู่ข้างหน้า
6) ก้าว 5
- วางขาซ้าย ( ขายัน ) ด้วยส้นเท้า เหยียดขาตึง " เหมือนท่อนไม้"
- แขนขวาเหยียดตึง นิ่ง สูงเหนือไหล่
7) การพุ่ง
- ร่างกายเป็นรูปโค้ง
- ขาซ้ายเหยีัยดตึง
- พุ่งในขณะที่ขาเหยียดตึง
- บิดสะโำพกขวาไปข้างหน้าอย่้างรวดเร็ว แขนซ้ายอยู่ข้างลำตัว
- ดึงศอกขวาเฉียงขึ้นผ่านศีรษะ
8) ทรงตัว
- ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเพื่อทรงตัว

กติกาการพุ่งแหลนใน London 2012 Javelin
  • ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยงหรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ
  • การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผล
  • ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล
  • หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่
  • แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ

Saturday, August 4, 2012

London 2012 Synchronized Swimming กีฬาระบำใต้น้ำในโอลิมปิก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manacomputers.com/london-2012-synchronized-swimming/


London 2012 Synchronized Swimming - กีฬาระบำใต้น้ำในโอลิมปิกครั้งนี้ ถือว่าเป็นอีกกีฬาหนึ่่งที่เน้นเรื่องของความสวยงามแล้วความพร้อมเพียงกัน ของผู้เข้าแข่งขัน โดยครั้งนี้การแข่งขันจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม – 10 สิงหาคม 2555 ครับ

สิ่งที่น่าสนใจในการแข่งขันระบำใต้น้ำในโอลิมปิกครั้งนี้ (London 2012 Synchronized Swimming)

กีฬา ระบำใต้น้ำ เป็นกีฬาที่มีลักษณะผสมผสมนระหว่างกีฬาว่ายน้ำกับลีลา นักกีฬาจึงต้องมีทักษะกีฬาหลายชนิด ได้แก่ว่ายน้ำ ยิมนาสติก บัลเล่ย์ และอื่นๆ มาประกอบกันเพื่อให้การเล่นสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
ในการแข่งขันแบ่งเป็น
  • ประเภทเดี่ยว มีนักกีฬา 1 คน (Solo)
  • ประเภทคู่ มีนักกีฬา 2 คน (Duet)
  • ประเภททีม มีนักกีฬา 8 คน (Team)
  • ประเภท Free combination มีนักกีฬา 10 คน (เป็นการผสมผสานประเภทที่ 1-3 ไว้ด้วยกัน)



กีฬาระบำใต้น้ำในโอลิมปิก ( London 2012 Synchronized Swimming) ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาที่มีการชิงชัยเฉพาะนักกีฬาหญิงในโอลิมปิกอย่าง เป็นทางการ ในปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา มีชิงชัย 2 เหรียญทอง คือ ประเภทเดี่ยวและคู่ ซึ่งนักกีฬาระบำใต้น้ำ จากสหรัฐฯ กวาดไปทั้งสองเหรียญทอง

ประเทศที่ครองความยิ่งใหญ่ในกีฬาระบำใต้น้ำ คือสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่ต่างผลัดกันครองเหรียญทองในโอลิมปิกมาตลอด แต่จุดหักเหที่ทำให้สหรัฐฯและแคนาดา มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นคือหลังจากโอลิมปิกในปี 1996 ที่แอตแลนต้า สหรัฐอเมริกา เมื่อทั้งสหรัฐฯและแคนาดา เจอปัญหาเดียวกันคือ นักกีฬาหลักต่างพร้อมใจกันวางมือ ขณะที่หลายประเทศต่างพัฒนาขีดความสามารถขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและญี่ปุ่นที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในช่วงการแข่งขันระบำใต้ น้ำชิงแชมป์โลกที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1998 นอกจากนี้ยังมีจีนและอิตาลีเป็นคู่แข่งที่พัฒนาฝีมือได้อย่างรวดเร็ว

Friday, August 3, 2012

London 2012 pole vault กีฬากระโดดค้ำถ่อในโอลิมปิก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก - www.manacomputers.com/london-2012-pole-vault/

London 2012 pole vault หรือ กีฬากระโดดค้ำถ่อในโอลิมปิกลอนดอน 2012 นี้ เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย คุณอาจจะเคยได้ยินแต่อาจจะไม่เคยรู้ว่า กีฬากระโดดค้ำถ่อ (London 2012 pole vault) มีกฎกติกาอย่างไร วันนี้มานาคอมพิวเตอร์ขอแนะนำให้ทราบนะครับ

สำหรับ กีฬากระโดดค้ำถ่อในโอลิมปิกครั้งนี้ (London 2012 pole vault) มีกำหนดการแข่งขันดังนี้ครับ 8 ส.ค. เป็นการแข่งขันค้ำถ่อ (ชาย) รอบคัดเลือก  (1/2) เวลา 16:00 น. และวันที่ 11 ส.ค. เป็นการแข่งขันค้ำถ่อ (ชาย) รอบชิงชนะเลิศ เวลา 1:00 (ของวันที่ 11 ส.ค.)

สำหรับสถิตโลก ผู้ที่ทำไว้สูงสุดอยู่ที่ความสูง 6.14 ม. คือ Sergey Bubka ในปี 1994 ส่วนสถิติในโอลิมปิก ผู้ทำไว้สูงสุดที่ 5.96 ม. คือ Steven Hooker ในปี 2008


ภาพนักกีฬากระโดดค้ำถ่อสาวสวยครับ Allison Stokke

สำหรับ กติกาการแข่งกระโดดค้ำถ่อ หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้งถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บ โดยจะเลือกการแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ
ปิดท้ายด้วยวี ดีโอรวบรวมการกระโดดค้ำถ่อ ซึ่งมีทั้งสำเร็จและพลาดท่า เมื่อดูวีดีโอนี้แล้ว คุณจะเห็นว่า กีฬากระโดดค้ำถ่อในโอลิมปิกนี้ (London 2012 pole vault) เป็นกีฬาที่น่าหวาดเสียวไม่น้อยเลยครับ

Thursday, August 2, 2012

London 2012 Shot Put กีฬาทุ่มน้ำหนักในโอลิมปิก

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.manacomputers.com/london-2012-shot-put/
 
London 2012 Shot Put หรือกีฬาทุ่มน้ำหนักนั้นเป็น กีฬาหนึ่งในการแข่งขันกรีฑาประเภทลาน โดยกีฬาทุ่มน้ำหนักในโอลิมปิกครั้งนี้ (Shot Put in London 2012) จะมีการแข่งขันประเภทชาย โดยจะแข่งในวันที่ 3 สิงหาคม 2555 โดยรวมทั้งรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศครับ เราลองมาดูข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้กันดูนะครับ

เรื่องน่ารู้สำหรับกีฬาทุ่มน้ำหนัก (Shot Put)

สำหรับ สถิติระดับโลกที่นักกีฬาทุ่มน้ำหนักได้ไกลที่สุดจะตกเป็นของ Randy Barnes นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำลายสถิติในปี 1990 โดยสามารถทุ่มได้ไกลถึง 23.12 เมตร  ส่วนสถิติระดับโอลิมปิกจะตกเป็นของ Ulf Timmermann จากประเทศเยอรมัน ในปี 1988 โดยทำสถิตไปได้ที่ระยะ 22.47 เมตรครับ
ส่วนน้ำหนักของลูกเหล็ก ลูกเหล็กสำหรับนักกีฬาชาย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เซนติเมตร และหนัก 7.26 กิโลกรัม ส่วนนักกีฬาหญิง ลูกเหล็กหนัก 4 กิโลกรัม และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 เซนติเมตร


กติกาการแข่งขันการทุ่มน้ำหนักที่น่าสนใจ

  • ผู้ เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มต้นทุ่มจากท่านิ่งภายในวงกลม ไม่อนุญาตให้วิ่งหรือกระโดดเข้าไปในวงกลม แต่อนุโลมให้ผู้แข่งขันสัมผัสกับด้านในของขอบวงกลม และกระดานหยุดได้
  • ลูกน้ำหนักจะทุ่มออกไปจากไหล่ ด้วยมือข้างเดียวเท่านั้น
  • เมื่อ ผู้เข้าแข่งขันยืนเพื่อเตรียมทุ่มในวงกลม ลูกน้ำหนักจะติดอยู่ที่คอหรือคางและมือต้องไม่ลดต่ำไปกว่านี้ ในขณะที่ทุ่มออกไป ห้ามเงื้อลูกน้ำหนักออกจนเลยแนวไหล่
  • ห้ามใช้เครื่องช่วยใด ๆ เช่น ใช้เทปพันนิ้วมือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน เว้นแต่ในกรณีที่ใช้เพื่อปิดบาดแผลเท่านั้น
  • ห้ามสวมถุงมือทำการแข่งขัน
  • เพื่อช่วยให้จับลูกน้ำหนักได้ดีขั้น ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้สารที่คณะกรรมการระบุว่าไม่ผิดกติกาทาบนฝ่ามือได้
  • เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ข้อมือ ผู้เข้าแข่งขันใช้ผ้าพันยึดที่ข้อมือได้
  • เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันอาจคาดเข็มขัดหนังหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมได้
  • ผู้เข้าแข่งขันจะฉีดหรือโรยสารใด ๆ ลงในบริเวณวงกลมหรือบนพื้นรองเท้าของตนเองไม่ได้
  • ถือเป็นการผิดกติกา ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสกับขอบบนของวงกลมขอบบนของที่ยันเท้าหรือพื้นนอกวงกลม
  • ใน การแข่งขันผู้เข้าแข่งขันจะขอหยุดการแข่งขันก็ได้ แม้ว่าจะเริ่มไปแล้วก็ตามโดยวางลูกทุ่มน้ำหนักลงภายนอกหรือภายในวงกลมก็ได้ หรือถ้าจะเดินออกจากวงกลมให้ก้าวเท้าออกทางด้านหลัง จากนั้นจะกลับเข้าไปในวงกลมในท่านิ่งและเริ่มต้นทำการแข่งขันต่อไปก็ได้
  • ผลการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ลูกทุ่มน้ำหนักที่ทุ่มไปจะต้องตกลงอย่างสมบูรณ์ ภายในขอบด้านในของรัศมีของการทุ่ม
  • ผู้ เข้าแข่งขันจะออกจากวงกลมไม่ได้ จนกว่าลูกน้ำหนักจะตกถึงพื้นแล้ว โดยออกทางครึ่งหลังซึ่งมีเส้นสีขาวเขียนไว้ เส้นนี้จะต่อจากเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมออกไปนอกวงกลมทั้งสองข้าง
  • ลูกน้ำหนักที่ทุ่มไปแล้วต้องถือกลับมาที่วงกลม ห้ามทุ่มกลับมา
สุด ท้ายนี้เราลองมาดูวีดีโอที่เขาได้ทำการรวบรวมสถิตนักทุ่มน้ำหนักที่สามารถทำ สถิติทุ่มได้ไกลที่สุดในโลก 10 ลำดับครับ กับวีดีโอที่มีชื่อว่า "SHOT PUT TOP 10 SHOTPUTTERS ALL TIME!"